เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

1. แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์

                                ปัจจุบันการสื่อสารของมนุษย์ได้รับการพัฒนาให้สื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น สื่อชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วม สร้าง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ คือ social media คำนี้คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์ว่า สื่อสังคม หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า สื่อออนไลน์ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ในทางเทคนิค สื่อสังคม จะหมายถึง โปรแกรมกลุ่มหนึ่งที่ทำงานโดยใช้พื้นฐานและเทคโนโลยีของเว็บตั้งแต่รุ่น ๒.๐ เช่น บีโบ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ วิกิพีเดีย ไฮไฟฟ์ และบล็อกต่าง ๆ ในทางธุรกิจเรียกสื่อสังคมว่า สื่อที่ผู้บริโภคสร้างขึ้น (consumer-generated media หรือ CGM) สำหรับกลุ่มบุคคลผู้ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคม ซึ่งนอกจากจะส่งข่าวสารข้อมูลแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังอาจทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันด้วย กลุ่มบุคคลที่ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคมดังกล่าว คือ social network ซึ่งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ บัญญัติศัพท์ social network ว่า เครือข่ายสังคม ในเครือข่ายสังคม กลุ่ม “เพื่อน” หรือ “ผู้ติดต่อกัน” จะต้องแนะนำตนเองอย่างสั้น ๆ โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมจะเปิดโอกาสให้กลุ่มเพื่อน ๆ วิพากษ์วิจารณ์กันเองได้ ส่งข้อความส่วนตัว และเข้าไปอ่านข้อความของเพื่อน ๆ ในกลุ่มได้ ซอฟต์แวร์บางประเภทจะสามารถให้เพื่อน ๆ เพิ่มเสียงและภาพเคลื่อนไหวลงในประวัติของตนได้ด้วย นอกจากนี้ เพื่อนบางคนก็อาจจะสร้างโปรแกรมย่อย ๆ ขึ้นมาให้ใช้ร่วมกันได้ เช่น เล่นเกม ถามปัญหา หรือปรับแต่งรูปภาพ ทำให้บางคนมีผู้สมัครเข้ามาเป็นเพื่อนด้วยมากมาย(ราชบัณฑิตสถาน,2560)

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networks) คือ เว็บไซต์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้คน สามารถการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล บนอินเทอร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ (แคมบริด, 2560)

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) คือ รูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกมโดยใช้บัตรเติมเงิน (วิกิพีเดีย,2560)

โดยสรุป เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) หมายถึง  เว็บไซต์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้คนสมารถสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการสื่อสารแบ่งปันข้อมูล เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น เช่น facebook

2. ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายสังคมออนไลน์(Social Network) โดยมีผู้ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ไว้ ดังนี้

รูปแบบของสื่อที่ช่วยให้คน สามารถสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล ด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์มือถือ (ราชบัณฑิตสถาน, 2560)

สื่อชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วม สร้าง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ (แคมบริด, 2560)

สื่อสังคม ( social media) หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สื่อเหล่านี้เป็นของบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของตน เช่น เฟซบุ๊ก ไฮไฟฟ์ ทวิตเตอร์ วิกิพีเดีย (วิกิพีเดีย,2560)

โดยสรุป Social media หมายถึง รูปแบบของสื่อชนิดหนึ่งที่ช่วยให้คน สามารถสื่อสารและแบ่งปันด้วยการใช้อินเทอร์เน็ต ทั้งยังเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เช่น Slideshare

                3. ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์

สื่อสังคมออนไลน์มีหลายรูปแบบ ทั้งประเภทเครื่องมือ และการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ซึ่ง อาจแบ่งได้ดังนี้ (Williamson, Andy 2013: 9)

1. เครือข่ายสังคม (Social networking site) เป็นเว็บไซต์ที่บุคคลหรือ หน่วยงานสามารถสร้างข้อมูล และเปลี่ยนข้อมูล (สถานะของตน) เผยแพร่รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว โดยที่บุคคลอื่น

สามารถเข้ามาแสดงความชอบ หรือส่งต่อ หรือเผยแพร่ หรือ แสดงความเห็น โต้ตอบการ สนทนา หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ เช่น  Facebook,  Badoo, Google+,  Linkdin, Orkut

2. ไมโครบล็อก (Micro-blog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล หรือข้อความสั้น ในเรื่องที่สนใจเฉพาะด้าน รวมทั้งสามารถใช้เครื่องหมาย # (hashtag) เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้ เช่น Twitter, Blauk, Weibo, Tout, Tumblr

3. เว็บไซต์ที่ให้บริการแบ่งปันสื่อออนไลน์ (Video and photo sharing website) เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถฝาก หรือนําสื่อข้อมูล รูปภาพ วีดีโอ ขึ้นเว็บไซต์เพื่อแบ่งปัน แก่ผู้อื่น เช่น Flicker, Vimero, Youtube, Instagram, Pinteres

4. บล็อก ส่วนบุคคลและองค์กร (Personal and corporate blogs) เป็นเว็บไซต์ที่ผู้เขียนบันทึก เรื่องราวต่าง ๆ เสมือนเป็นบันทึกไดอารีออนไลน์สามารถเขียนในลักษณะไม่เป็นทางการ

และแก้ไขได้บ่อย ซึ่งบล็อกสามารถใช้ได้ทั้งส่วนบุคคล และกลุ่ม หรือองค์กร เช่น Blogger, WordPress, Bloggang,  Exteen

5. บล็อกที่มีสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเจ้าของเว็บไซต์ (Blogs hosted by media outlet)

เป็นเว็บไซต์ที่ใช้ในการนำเสนอข่าวสารของสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งมีความเป็นทางการน้อยกว่าสื่อสิ่งพิมพ์แต่มีรูปแบบ และความเป็นทางการมากกว่าบล็อก เช่น theguardian.com เจ้าของคือ หนังสือพิมพ์ The Gardian

6. วิกิและพื้นที่สาธารณะของกลุ่ม (Wikis and online collaborative space)

เป็นเว็บไซต์ที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ออนไลน์เพื่อรวบรวมข้อมูล และเอกสาร เช่น Wikipedia, Wikia

7. กลุ่มหรือพื้นที่แสดงความคิดเห็น (Forums, discussion board and group)

เป็นเว็บไซด์หรือกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแสดงความเห็นหรือเสนอแนะ มีทั้งที่ เป็นกลุ่มส่วนตัวและสาธารณะ เช่น Google Groups, Yahoo Groups, Pantip

8. เกมส์ออนไลน์ที่มีผู้เล่นหลายคน (Online multiplayer gaming platform) เป็นเว็บไซด์ที่เสนอรูปแบบการเล่นเกมส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเล่นได้คน เดียวหรือเป็นกลุ่ม

เช่น Second life, World of Warcraft

9. ข้อความสั้น (Instant messaging) การรับส่งข้อความสั้นจากมือถือ เช่น SMS (text messaging)

10. การแสดงตนว่าอยู่ ณ สถานที่ใด (Geo-spatial tagging) เป็นการแสดงตําแหน่งที่อยู่ พร้อมความเห็นและรูปภาพ ในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Foursquare

สื่อสังคมออนไลน์บางสื่อมีความสามารถและให้บริการการใช้มากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น Facebook เป็นทั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์และสามารถแบ่งปันรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวด้วย และแสดงตำแหน่งที่ตั้ง หรือ Twitter ที่เป็นทั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์และไมโครบล็อกและการแบ่งปันสถานะ เป็นต้น

                4. การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์

ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในงานด้านต่างๆอย่างแพร่หลาย  โดยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ดังนี้

จุลมณี สุระโยธิน (2554,148:160) ในการศึกษา ผลของการจัดการเรียนรู้ร่วมกันทางอินเทอร์เน็ตด้วยการเขียนสะท้อนคิดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ทำการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในฐานะเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล ทั้งแบบประเมินทางสังคม แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

ธนิพร จุลศักดิ์ (2555) ได้ศึกษาการเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี พบว่า รูปแบบของการเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีนั้น มีการใช้ เฟสบุ๊ค แฟนเพจ (Facebook Fan Page) โดยมีการใช้มัลติมีเดียอย่างสมบูรณ์ทุกรูปแบบ โดยเป็นการกระจายไปยังเมนูต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมีการใช้ข้อความตัวอักษร มากที่สุด รองลงมาคือการใช้รูปภาพ วิดีโอ ลิงค์ดาวน์โหลด และการใช้เสียง และยังพบว่าแต่ละเมนูมีการนำเสนอมัลติมีเดียมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งเป๋นการผสมผสานเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ให้เข้าไปใช้งาน

วิลเลี่ยมสัน (2556) ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการดำเนินการของรัฐสภา ดังนี้

1. ใช้เพื่อการให้ข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แก่สาธารณชน รวมถึงการแลกเปลี่ยนและการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของรัฐสภา เช่น การดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการตรากฎหมาย การติดตามกระทู้ถาม การประชุมกรรมาธิการกิจการ

พิเศษ การเยี่ยมชมรัฐสภา และรายงานการศึกษาที่น่าสนใจ

2. ใช้เพื่อให้ความรู้ เป็นแหล่งในการค้นคว้า ติดตาม เอกสารประกอบการอบรม และแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของครูอาจารย์และนักเรียน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการศึกษาของรัฐสภา บทความ เอกสารต่าง ๆ ของรัฐสภา

3. ใช้เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางสาธารณะสำหรับการติดต่อกับรัฐสภา

4. ใช้ในการสร้างความร่วมมือ และติดต่อกับประชาชน เป็นช่องทางที่ได้ผลดีในการให้ข้อมูล และติดต่อกับประชาชน การส่งความคิดเห็น และสร้างความสนใจต่อกระบวนการนิติบัญญัติรวมถึงการให้คำปรึกษาโดยตรงแก่สาธารณะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัตินโยบาย และกลยุทธ์ในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติ

เกียรติศักดิ์ เสสสุวรรณ (2556) ได้นำสื่อสังคมออนไลน์ไปประยุกต์ใช้ ด้วยการพัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนแบบสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะในการเรียนแบบภาระงานเป็นฐาน สาหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา เป็นการการเรียนการสอนบนเว็บแบบสื่อสังคมออนไลน์เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองบนเว็บแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้เกิดจิตสาธารณะ โดยโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนแบบสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะในการเรียนแบบภาระงานเป็นฐาน ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย

1.องค์ประกอบของโมเดล มี 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการของโมเดล

2) วัตถุประสงค์ของโมเดล 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) การจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนการ

สอนแบบภาระงานเป็นฐาน 5) เนื้อหาและกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ 6) ระบบการเรียนการ

สอนบนเว็บแบบสื่อสังคมออนไลน์ 7) การวัดและการประเมินผล
2. ขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอน มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมก่อนการ

เรียนการสอน และขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

3. กิจกรรมประกอบการจัดการเรียนการสอนแบบภาระงานเป็นฐาน มี 8

กิจกรรม ได้แก่ 1) การกำหนดภาระงาน 2) การตระหนักรู้ปัญหา 3) การค้นหาสาเหตุของปัญหา

4) การกำหนดปัญหา 5) การหาแนวทางแก้ไขปัญหา 6) การค้นหาข้อสรุปและเลือกวิธี 7) การ

ดาเนินการแก้ปัญหา 8) การสรุปและประเมินผล

4. เนื้อหาและกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ มี 5 กิจกรรม 1) กระบวนการ

เรียนรู้เนื้อหา การปฏิบัติกิจกรรมบนเว็บแบบสื่อสังคมออนไลน์ในกระบวนจัดการเรียนรู้แบบภาระงาน

เป็นฐาน 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยการใช้บทเรียนการพัฒนาจิต

สาธารณะผ่านรูปภาพ วิดีโอ เนื้อหา บทความ และการ์ตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจา ซึ่งการชี้แนะ

ทางวาจามีการสร้างระบบขั้นตอนการชี้แนะที่เหมาะสม กำหนดพฤติกรรมการชี้แนะอย่างชัดเจน

เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรจิตสาธารณะ 3) กิจกรรมการค้นคว้าประเภทเนื้อหา รูปภาพ วิดีโอ

เน้นด้านปัญหาที่เกิดในสังคมและการแก้ปัญหาในสังคม ตามตัวชี้วัดจิตสาธารณะ 4) กิจกรรมการ

นาเสนอผลงาน การเผยแพร่ผลงาน การส่งงาน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5) กิจกรรมการแลกเปลี่ยน

เรียนรู้เรื่องจิตสาธารณะผ่านสื่อสังคมออนไลน์

5. ระบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบสื่อสังคมออนไลน์ มี 7 ประเภท 1)

Blogger 2) Facebook 3) YouTube 4) WikiPedia 5) Skype 6) Multiply 7) Twitter

เครื่องมือมี 6 ชนิดดังนี้ 1) วิดีโอ 2) รูปภาพ 3) ห้องสนทนา 4) ส่งจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ 5)

การนาเสนองาน 6) การศึกษาค้นคว้า

6. การวัดและประเมินผล มี 3 ลักษณะ 1) การประเมินด้านกระบวนการ

(Process) 2) การประเมินความคืบหน้า (Progress) 3) การประเมินผลงาน (Product)

คเชนทร์ กองพิลา (2558 ) ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนการสอน เป็นการนำแหล่งข้อมูล ภาพ เสียง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในเครือข่ายสังคมมาเป็นสื่อ เครื่องมือ และใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางหรือช่องทางในการเรียนการสอนส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายตามความสนใจ ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ แต่ในปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีจำนวนมากมาย ดังนั้น เมื่อจะนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของสื่อสังคมออนไลน์มาเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

1. การร่วมมือ (Collaboration) เป็นการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยตามประเด็นหัวข้อที่นักเรียนสนใจ มีการกำหนดบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ โดยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องร่วมมือกันในการเรียนรู้หรือทำกิจกรรมโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ เช่น Group (กลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ตามหัวข้อที่นักเรียนสนใจ) และ Member (การเป็นสมาชิกในกลุ่ม)

2. การสื่อสาร (Communication) เป็นการใช้ช่องทางของสื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อสื่อสาร พูดคุย แลกเปลี่ยน สอบถาม ติดตาม แสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในสถานที่และเวลาที่แตกต่างกัน เครื่องมือสื่อสารควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพการใช้งานของผู้เรียนและสอดคล้องกับลักษณะกิจกรรม เช่น Facebook จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) กระดานสนทนา (WebBoard) การพูดคุย(Chat)

3. บริบททางสังคม (Social Context) เป็นองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ ช่องทาง สถานที่ เวลา และสถานการณ์หรือเรื่องราวที่กำหนดให้ผู้เรียนเข้าไปร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่ของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีระบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยสมาชิกทุกคนในห้องต้องเข้าร่วมกลุ่มจึงจะสามารถทำกิจกรรมได้ และมีการเชื่อมโยงเพื่อการสื่อสารกับกลุ่มในเฟสบุ๊ค (Facebook)

4. เทคโนโลยี (Technologies) เป็นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายในรูปแบบของสื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ การสื่อสารในลักษณะของการโต้ตอบ เช่น Facebook , Blog , YouTube , E-mail (Disscusion , Web Board , Chat , Comment , Reply) แบบทดสอบออนไลน์ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ อื่นๆ

5. การแบ่งปัน (Sharing) หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการจัดการความรู้ ข้อมูล แหล่งข้อมูล ภาพ เสียง เนื้อหาผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิกในกลุ่มโครงงานและในเครือข่าย เช่น การแบ่งปันโดยใช้ Google Drive , Google Docs , Google Forms , Google Sheets , Google Presentation อื่นๆ

6. ความสัมพันธ์ (Connections) โดยการให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทั้งในส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มทุกคนอย่างสม่ำเสมอ โดยกิจกรรมจะมุ่งเน้นการนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมถึงการตั้งประเด็นการศึกษา คำถาม วัตถุประสงค์และหัวข้อนั้นๆ เช่น Group (กลุ่มตามหัวข้อโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม และกลุ่มแต่ละห้องเรียน)

7. การใช้เครื่องมือร่วมกันสร้างเนื้อหา (Content co-creation Tools) โดยการที่สมาชิกในกลุ่ม นอกกลุ่มและในเครือข่ายมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ (Co-Creation) และนำเสนอข้อมูลเนื้อหา (Content) แสดงความคิดเห็นด้วยการโพสต์คอมเม้นต์ โต้ตอบกันได้อย่างอิสระ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนักเรียนจะเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ เช่น การแบ่งปัน (Sharing) การแสดงความคิดเห็น(Comment) การโต้ตอบ (Reply) การนำเสนอ (YouTube) การทำแผนที่ความคิด (Mind Map)

โดยสรุป การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันนั้น มีการประยุกต์ใช้ในหลายรูปแบบทั้ง ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย ใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน และใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในรูปแบบของสื่อการสอน แหล่งข้อมูลการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้

Download PDF File คลิกด้านล่าง

ดาวน์โหลด: สรุปเครือข่ายสังคมออนไลน์_กฤติน

อ้างอิง

เกียรติศักดิ์ เสสสุวรรณ (2556 ).การพัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนแบบสื่อสังคมออนไลน์ที่         ส่งเสริม จิตสาธารณะในการเรียนแบบภาระงานเป็นฐาน สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา,       ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คเชนทร์ กองพิลา (2558 ).แบบจำลองการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นฐาน   เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์, ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุลมณี สุระโยธิน (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้ร่วมกันทางอินเทอร์เน็ตด้วยการเขียน      สะท้อนคิดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ธนิพร จุลศักดิ์ (2555). การเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี,      นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เคมบริดจ์ (2560). ออนไลน์. http://dictionary.cambridge.org สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560

ราชบัณฑิตยสภา (2560) .ออนไลน์ . http://www.royin.go.th/ สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560

วิกิพีเดีย (2560). ออนไลน์. https://www.wikipedia.org/ สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560

Williamson, Andy. Social Media Guidelines for Parliaments [Online]. Available from:           http://www.ipu.org/PDF/publications/SMG2013EN.pdf [6 August 2013].

Comments

comments