ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

1. ที่ตั้ง
     อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 1,810 ไร่ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา เขตเทศบาลเมือง พระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือ ตามถนนสายเอเซีย ระยะทางประมาณ
75 กิโลเมตร
      กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 3,000 ไร่

2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์


     ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.1893 นั้น นักวิชาการเชื่อกันว่า บริเวณดังกล่าวได้มีบ้านเมือง
ตั้งอยู่ก่อน แล้วเรียกว่า เมืองอโยธยา หรืออโยธยาศรีรามเทพนคร มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกนอกเกาะเมืองอยุธยา ปรากฏหลักฐานโบราณสถาน ที่เป็นวัดสำคัญ เช่น วัดมเหยงค์ และวัดอโยธยา เป็นต้น รวมทั้งจากพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ กล่าวถึงการก่อสร้าง พระพุทธรูปที่เรียกว่า พระเจ้าพนัญเชิง พระประธานของวัดพนัญเชิง ที่ระบุว่า สร้างขึ้นก่อนที่
พระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี
     ด้วยทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาที่มีลักษณะเป็นเกาะเมืองมีแม่น้ำที่สำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน รวมทั้งเป็นชุมทางคมนาคม และเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึก
ศัตรู กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นราชธานีใหญ่สามารถกุมอำนาจเหนือเมืองใกล้เคียงเป็นเวลานาน
     กรุงศรีอยุธยาเติบโตเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเซีย ในพุทธศตวรรษที่ 20-23 มีชาวต่างชาติ
ทั้งจากเอเซีย และยุโรป เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เดินเรือเข้ามา
ค้าขาย ซึ่งส่วนมาก มีสัมพันธ์ทางการทูตด้วย บ้างก็ได้รับพระราชทานที่ดินตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ตั้งสถานีการค้า และศาสนสถาน
หมู่บ้านส่วนใหญ่ ของชาวต่างประเทศจะอยู่นอกตัวเมืองมีเฉพาะชาวจีน แขกฮินดู และมุสลิมเพียงบางกลุ่ม ซึ่งมีความสัมพันธ์
ใกล้ชิดกับราชสำนักเท่านั้น ที่ได้รับพระราชานุญาตให้สร้างบ้านเรือนอยู่ภายในเมือง
     นอกจากนี้ กรุงศรีอยุธยายังมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านการปกครอง กฎหมายการศาล ระบบสังคม การศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์ ภาษาวรรณกรรม และนาฏดุริยางค์ศิลป์ศิลปะ วิทยาการทุกแขนง
ที่คนไทยในอาณาจักรอยุธยาสั่งสมไว้นั้น เป็นอารยธรรมที่ กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ยึดถือเป็นแบบแผน สืบทอดและพัฒนา
เป็นอารยธรรมตามยุคสมัย หลายอย่างยังคงใช้สืบต่อมาตราบจนทุกวันนี้

3. โบราณสถานสำคัญ


     ด้วยเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทั้งเกาะเมืองมีพื้นที่ประมาณ 4,800 ไร่ ลักษณะ
ของเกาะเมืองเป็นไปตามสภาพของแม่น้ำที่กัดเซาะแผ่นดินมีรูปร่างไม่แน่นอน บางครั้งมีผู้สันนิษฐานว่า มีลักษณะคล้ายน้ำเต้า
     แต่เดิมกำแพงเมืองเป็นคันดินและมีเสาไม้ระเนียด ต่อมามีการเปลี่ยนเป็นกำแพงอิฐในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ. 2091-2111) และถูกทำลายในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 รวมทั้งมีการรื้อถอนกำแพงเมืองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อนำอิฐมาใช้
ในการก่อสร้างที่กรุงเทพฯ และป้องกันไม่ให้มีการใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่ซ่องสุมผู้คนอีกต่อไป
      กรุงศรีอยุธยาเป็นลักษณะของเมืองน้ำ มีการออกแบบแนวคูคลองที่ทั้งใช้ประโยชน์ในการคมนาคม และเป็นการระบายน้ำในหน้า
น้ำหลากด้วย ทำให้ผังเมืองอยุธยามีแม่น้ำลำคลองจำนวนมากเป็นเครือข่ายโยงใยกันทั้งนอกเมืองและในเมืองขนานไปกับแนวคูคลองคือ ถนนที่เป็นทั้งถนนดินและถนน ปูอิฐ โดยมีสะพานสร้างข้ามคลองทั้งสะพานไม้และสะพานก่ออิฐมากกว่า 30 แห่ง โบราณสถาน
เท่าที่สำรวจพบแล้วทั้งภายในเมืองและนอกกำแพงเมืองมีมากกว่า 425 แห่ง แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะโบราณสถานที่สำคัญ
และอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาพื้นที่ 1,810 ไร่ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ใจกลางเกาะเมืองและพื้นที่ด้านทิศเหนือ
และตะวันตกเฉียงใต้ ของเกาะเมือง มีโบราณสถานที่สำรวจพบแล้วทั้งสิ้น 95 แห่ง ดังนี้

3.1 พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง


      พระราชวังโบราณ เป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์และเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในเวลาเดียวกัน เมื่อแรกสร้าง
กรุงศรีอยุธยานั้นพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. 1893-1912) ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์
3.2 วัดพระศรีสรรเพชญ์
     เป็นวัดสมัยอยุธยา เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาในรัชกาลสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 โปรดให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังให้เป็นวัดสำหรับประกอบ พิธีต่าง ๆ
3.3 วัดราชบูรณะ
     เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1967 ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากการรบแย่งชิงราชสมบัติ
3.4 วิหารพระมงคลบพิตร
     พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อพ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้บูรณะวิหาร พระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
     นอกจากนี้ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังมีโบราณสถานที่ สำคัญแห่งอื่นอีก เช่น วัดพระราม วัดญาณเสน
วัดธรรมิกราช วัดวรโพธิ์ วัดวรเชษฐาราม เป็นต้น
     อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่น จนได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีมรดกโลก จากการประชุม ณ กรุงคาร์เรจ ประเทศตูนิเซีย ในปี พ.ศ.2536 ด้วยหลักเกณฑ์ที่ว่า เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยาน หลักฐานแสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว

4. การบริการและการท่องเที่ยว


     จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32
แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือ
ทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขาวเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรี ไปจังหวัด
ปทุมธานี จากนั้นใช้เส้นทางปทุมธานี - สามโคก - เสนา ทางหลวงหมายเลข 311 เลี้ยวขวาที่อำเภอ เสนา ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้เส้นทาง กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี
เลี้ยวเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางรถไฟ ใช้ขบวนที่เดินทาง
สู่ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอ พระนครศรีอยุธยา และ
อำเภอภาชี ทางเรือ ปัจจุบันการเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยทางน้ำ เป็นที่นิยมของ นักท่องเที่ยว เพราะนอกจากจะได้
ชมทัศนียภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังเป็นการย้อนให้เห็นถึงประวัติศาตร์สมัย
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติโดยทางเรือบนแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้
บริษัทเรือนำเที่ยวไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด- เรือโอเรียนเต็ลควีน- เรือริเวอร์ซันครุ้ยส์- เรือฮอไรซันครุ้ยส์

- บริษัท เรือเบญจรงค์ จำกัด

โทร. 02 222-5330, 02 225-3002-3โทร. 02 236-0400-9โทร. 02 266-9125-6โทร. 02 236-7777 ต่อ 1204-5

โทร. 0235 211036


การเที่ยวชม     เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 18.00 น.
  อัตราค่าเข้าชม ผู้มีสัญชาติไทย 10 บาท
ผู้มีสัญชาติอื่น 40 บาท

การท่องเที่ยว สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 035 245123-4สำนักงาน ททท. 035 246076-7 หรือ 1672
โรงแรมที่พัก อยุธยาแกรนด์โฮเต็ล 035 335483กรุงศรีริเวอร์ 035 244333อโยธยา 035 252249อู่ทองอินน์ 035 242236

บ้านไทยเกสท์เฮ้าส์ 035 242394

ร้านอาหารแนะนำ ก๋วยเตี๋ยวเรืออยุธยาหลังวัดจีน ส้มตำบึงพระราม ร้านอาจารย์สุกัญญาตำรวจท่องเที่ยว 035 242352 หรือ 1155ตำรวจทางหลวง 035 361059 หรือ 1193

สินค้าพื้นเมือง เครื่องหวาย เครื่องจักสาน มีดอรัญญิก ปลาตะเพียนสาน โรตีสายไหม

(จำนวนผู้เข้าชม 33094 ครั้ง)

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  • ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร
  • ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้

ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกันแล้วทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างเมืองใหม่ แต่กรุงศรีอยุธยาไม่ได้ กลายเป็นเมืองร้าง ยังคงมีคนรักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และราษฎรที่หลบหนีไปได้กลับเข้ามาอยู่รวมกัน ต่อมาได้รับการยกย่อง เป็นเมืองจัตวาเรียก "เมืองกรุงเก่า"

ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวมเมืองที่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหาร การปกครองมากขึ้นการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยาเพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปี พ.ศ.2498นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและมอบเงินจำนวน200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น " มรดกโลก " เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า " ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว " ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุมากมายกรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักรรวม 5 ราชวงศ์

1. ราชวงศ์อู่ทอง              2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 3. ราชวงศ์สุโขทัย           4. ราชวงศ์ปราสาททอง

5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ.) ราชวงศ์
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912  (19 ปี) อู่ทอง
2 สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 -1913 (1 ปี ) อู่ทอง
3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931  (18 ปี) สุพรรณภูมิ
4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 - 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ
5 พระราเมศวร  1931 -1938 ( 7 ปี) อู่ทอง
สมเด็จพระราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร) 1938 -1952 (14 ปี )
6 สมเด็จพระอินราชาธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชาของขุนหลวงพระงั่ว 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์ 1967 - 1991 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ
9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ
11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 -2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ
12 พระรัษฎาธิราช (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 -2077 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ
14 พระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) (โอรสไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ
15 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ
16 สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
17 สมเด็จพระมหาธรรมราชา 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย
18 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย
19 สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 -2153 (5 ปี) สุโขทัย
20 พระศรีเสาวภาคย์ (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2153 (1 ปี) สุโขทัย
21 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2171 (17 ปี) สุโขทัย
22 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 - 2172 (8 เดือน) สุโขทัย
23 พระอาทิตยวงศ์ (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 - 2199 (28วัน) สุโขทัย
24 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172 - 2199 (27 ปี) ปราสาททอง
25 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2199 (3 - 4 วัน) ปราสาททอง
26 พระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง
27 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปรารสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง
28 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง
29 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2275 (6 ปี) บ้านพลูหลวง
30 สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (24 ปี) บ้านพลูหลวง
31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง
32 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง
33 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์(พระเจ้าเอกทัศน์) (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง

  • ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร
  • ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

Phra Nakhon Si Ayutthaya or Ayutthaya Province was the capital of Thailand. There were some evidences that it was the city situated on the plain of Chao Phraya River since Buddhist era 16-18, such as the sign of city, ancient remains, antiques, the annals, as well as the stone inscription, which is the contemporary evidence that most coincide with the incident (Ayothaya or Ayutthaya Kingdom was situated on the east of Ayutthaya isle). It was one of the prosperous cities in terms of politics, administration, and culture. In regard to administration, three administrative laws were enforced: Comprehensive Law, Slavery Law, Law of Obligation.

Ramathibodi I (Uthong) established Ayutthaya as the capital city in 1350 and it had been the center of Siam for 417 years. During those years, there were 33 Kings from 5 different dynasties: Uthong dynasty (3 Kings), Suphannaphum dynasty (13 Kings), Sukhothai dynasty (7 Kings), Prasat Thong dynasty (4 Kings), Ban Phlu Luang dynasty (6 Kings) to ruled over Ayutthaya. It lost independence to Myanmar twice. The first loss of independence was in 1569 and King Naresuan retrieved independence in 1584. The second loss of independence was in 1767 which King Taksin retrieved independence in the same year. Thon Buri was established to be the capital and people from Ayutthaya were relocated to Thon Buri to build the stable city. However, there were some people who remained settle in Ayutthaya and some who escaped to the forest came back to live around the city. They assembled and established themselves as the province called "Krung Kao" or The Old City.

ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

Phra Phutthayotfa Chulalok or Rama l founded Krung Kao as a provice as same as in Thon Buri period. Later, Chulalongkorn or Rama V initiated the administrative reform for both central and provincial region. In regard to provincial administration, he applied the "Tesaphiban Administrative System" (local government) by assembling the 3-4 neighboring cities to form as a "Monthon" (administrative subdivisions) that governed by a royal commissioner. In 1895, he establishd Monthon Krung Kao that comprised of cities i.e. Krung Kao or Ayutthaya, Ang Thong, Saraburi, Lop Buri, Phrom Buri, In Buri, and Sing Buri. Afterwards, he merged In Buri and Phrom Buri with Sing Buri and established Monthon administrative office. In 1926, Monthon Krung kao had changed to Monthon Ayutthaya. As a result, Ayutthaya became a center of administration. Creation of public utilities had great impact on the development of Ayutthaya.

Phra Phutthayotfa Chulalok or Rama l founded Krung Kao as a provice as same as in Thon Buri period. Later, Chulalongkorn or Rama V initiated the administrative reform for both central and provincial region. In regard to provincial administration, he applied the "Tesaphiban Administrative System" (local government) by assembling the 3-4 neighboring cities to form as a "Monthon" (administrative subdivisions) that governed by a royal commissioner. In 1895, he establishd Monthon Krung Kao that comprised of cities i.e. Krung Kao or Ayutthaya, Ang Thong, Saraburi, Lop Buri, Phrom Buri, In Buri, and Sing Buri. Afterwards, he merged In Buri and Phrom Buri with Sing Buri and established Monthon administrative office. In 1926, Monthon Krung kao had changed to Monthon Ayutthaya. As a result, Ayutthaya became a center of administration. Creation of public utilities had great impact on the development of Ayutthaya.

ยุทธศาสตร์ แรก ที่ พระเจ้า อู่ทอง ปฏิบัติ ก่อน ที่ จะ สถาปนา กรุง ศรีอยุธยา เป็น ราชธานี คือ อะไร

During the time that Phraya Boran Ratchathanin (Porn Dechakhup) was the Intendant of Monthon Krung Kao, he preserved the ancient remains in many ways. He reconstructed the right hand and topknot of Phra Mongkhon Bophit, inspected the interior ancient palace, and constructed the Sanphet Prasat Palace at the former foundation for The Fortieth Anniversary Celebrations of King Rama V's Accession to the Throne in 1908, as well as established the Ayutthaya Museum in Chandrakasem Palace. During the period that Field Marshal Plaek Pibulsongkram was the Prime Minister, there was the policy for ancient remains reconstruction in Ayutthaya to celebrate the 25th Buddhist century anniversary. Moreover, in 1955, the Prime Minister of Myanmar visited Thailand and granted 200,000 baht to reconstruct temples and Phra Mongkhon Bophit, which was the beginning of ancient remains reconstruction in Ayutthaya. Later, Fine Arts Department was the main agency to process the reconstruction. Afterwards, United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization or UNESCO resolved to register Phra Nakhon Si Ayutthaya, covered Ayutthaya Historical Park area, as the "World Heritage" on 13 December 1991.

Ayutthaya was the capital city for 417 years, from 3 April 1350 to 7 April 1767. There were history of administration, independence retrieval, bravery, and tradition and culture. It was the prosperous city with food and crops as the saying, "There are fish in the waters. There is rice in the fields". There were many temples, palaces, sacred places, and sacred objects in Ayutthaya.